วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
spot_img
หน้าแรกภาพข่าวสังคม มหกรรมว่าวนานาชาติปฐมฤกษ์จ.ยะลา กว่า 1,280 ตัวเฉิดฉายกลางท้องฟ้า

 มหกรรมว่าวนานาชาติปฐมฤกษ์จ.ยะลา กว่า 1,280 ตัวเฉิดฉายกลางท้องฟ้า

6 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง และมาเลเซีย ส่งว่าวกว่า 1,280 ตัวเข้าประชันความงามกลางฟ้าเบิกฤกษ์งานมหกรรมว่าวนานาชาติจังหวัดยะลา สืบสาน-ฟื้นฟู-รักษา-ต่อยอดทุนวัฒนธรรมว่าวบูรงนิบง ภายใต้โครงการวิจัยการยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานทุนพหุวัฒนธรรม ว่าวบูรงนิบง สู่เทศกาลวัฒนธรรมจังหวัดยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

ผศ.ดร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มรภ.ยะลา เปิดเผยความเป็นมาของงานมหกรรมว่าวนานาชาติ ครั้งปฐมฤกษ์ของจังหวัดยะลา 19-21 เม.ย.นี้ ว่าคือส่วนหนึ่งของกิจกรรมสำคัญภายใต้โครงการวิจัยการยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานทุนพหุวัฒนธรรม “ว่าวบูรงนิบง” สู่เทศกาลวัฒนธรรมจังหวัดยะลา ของคณาจารย์ มรภ.ยะลา โดยได้รับสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่มีวัตถุประสงค์สำคัญในการฟื้นฟูการเล่นว่าวบูรงนิบง ที่เป็นฐานทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ ควบคู่ไปกับการยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานทุนพหุวัฒนธรรม “ว่าวบูรงนิบง”

“ในมหกรรมว่าวนานาชาติครั้งปฐมฤกษ์นี้ มีว่าวหลากหลายประเภทจากนราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา สตูล ตรัง และมาเลเซีย เข้าร่วมแสดงรวมกว่า 1,280 ตัว” ผศ.นูรีดา จะปะกียา หัวหน้าโครงการฯ ชี้แจงเพิ่มเติมว่า “ว่าวบูรงนิบง” หรือ ว่าวเบอร์อามัส เป็นที่รู้จักในนาม ว่าวทองแห่งมลายูถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาอย่างยาวนาน บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของคนเชื้อสายมลายูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

“โครงการวิจัยนี้ เป็นการสืบสาน ฟื้นฟู รักษา และต่อยอด ขยายผลองค์ความรู้ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันน่าภาคภูมิใจของลูกหลานคนมลายูสามจังหวัดชายแดนใต้ในการทำว่าว -นำเรื่องเล่าที่สูญหายในพื้นที่ กรรมวิธีการทำว่าว ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ นำไปพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มาจากรากทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น และส่งต่อสู่ลูกหลานเป็นการสืบสานศิลปะภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้ โดยนำลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์ของว่าวบูรงนิบง มาพัฒนาสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ เสื้อ กระเป๋า และอยู่ระหว่างดำเนินการขอจดสิทธิบัตร ผลักดันเทศกาลว่าวนานาชาติ ให้ยกระดับเทศกาลวัฒนธรรมประจำของจังหวัดยะลา เพื่้อความยั่งยืน”

ผศ.นูรีดา กล่าวว่าโครงการฯ จะก่อเกิดผลลัพธ์หลายมิติ ทั้งการสร้างกลไกประชาคมเครือข่ายว่าวบูรงนิบง การเสริมพลังทุนทางวัฒนธรรม สืบสานคุณค่าทุนทางวัฒนธรรม และเป็นรากฐานสำคัญในการการสร้างความมั่นคงแก่เศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจฐานรากในระดับพื้นที่

ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาการขับเคลื่อนวิทยสถาน “ธัชภูมิ” เพื่อการพัฒนาพื้นที่ บพท. กล่าวว่า โครงการวิจัยของมรภ.ยะลา เป็นการ “ฟื้นคุณค่า สร้างมูลค่า สร้างความยั่งยืน” โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม” (Cultural Capital) ฟื้นคุณค่าของทุนที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น กระตุ้นให้เจ้าของทุนทางวัฒนธรรมเกิดความภาคภูมิใจและสำนึกท้องถิ่น หนุนเสริมให้เกิดระบบการจัดการผ่านการสร้างพื้นที่ตลาดวัฒนธรรมและย่านวัฒนธรรม นำไปสู่การสร้างมูลค่าใหม่ เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ ถือเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่โดยใช้วัฒนธรรมเป็นตัวจักรขับเคลื่อนที่เรียกกันว่า “เศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม”(Cultural Economy) จะทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนนำไปบำรุงรักษาทุนเดิม สืบทอดทุนทางวัฒนธรรมไปยังคนรุ่นหลัง ใช้องค์ความรู้ในพื้นที่ (Area Based Knowledge) มาพัฒนาพื้นที่

พื้นที่โฆษณา

RELATED ARTICLES

Most Popular

Recent Comments